เมนู

ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้เสวนการฟังพระนาคเสนวิสัชนาดังนี้ ก็มิ
ได้สงสัย มีพระทัยปราโมทย์ จงมีพระราชโองการตรัสว่าสธุสะ พระผู้เป็นเจ้าโปรดนี้ โยม
ไม่มีวิมัติสงสัย สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับไว้ซึ่งถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้า ก็มีด้วยประการดังนี้
ตถาคตัสส อุตตริกรณียาภาวปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหา
อื่นสืบไปเล่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา
ถ้อยคำดังนี้ สมเด็จพระศรีสุคตทศพลญาณโปรดประทานไว้ว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์
จตฺตาโร อิทฺธิปาทา อันว่าพระอิทธิบาททั้ง 4 ฉนฺทิทฺธิปาโท คือฉันทินธิบาทประการ 1
วิริยิทฺริปาโท คือวิริยิทธิบาทประการ 1 จิตฺติทฺธิปาโท คือจิตติทธิทานประการ 1 วิมํสิทุ-
ธิปาโท
คือวิมังวิทธิบาทประการ 1 สิริเป็น 4 ประการด้วยกัน ภาวิตา แม้พระตถาคตเจริญ
แล้ว พหุลีกตา กระทำให้มากแล้ว ยานีกตา กระทำเป็นยานปิดป้องกำบัง วตฺถุกตา
กระทำเป็นที่นั่งที่นอนที่อาศัย ปริจิตฺตา สั่งสมไว้มั่นในสันดาน อนุฏฺฐิตา ตั้งจิตให้เบิกบานใน
การเพียงที่กระทำมิได้ประมาท สุสมารทฺธา อุตสาหะปรารภจำเริญมิได้ขาดในบริกรรม
ภาวนาเป็นอันดี เมื่อตถาคตจำเริญพระอิทธิบาททั้ง 4 นี้ ตถาคตจะปรารถนาให้มีชนมายุยืน
นานไปกัปหนึ่งก็ได้ ยิ่งกว่ากัปก็ได้ อาศัยด้วยจำเริญซึ่งพระอิทธิบาททั้ง 4 นี้ เหตุดุงฤๅ
สมเด็จพระพิชิตมารญาณมุนี จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสอีกเล่าว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์
พระชนมายุของตถาคตนี้ยังมากน้อยไปเท่าไรมี นับแต่วันนี้ไปกำหนดได้สามเดือนเท่านั้น
เราพี่น้องทั้งสองจะไม่ได้เห็นหน้ากัน เมื่อถ้วนกำหนดสามเดือนนั้น ตถาคตจะลาดับขันธ์เข้าสู่
นิพพาน นี้แหละสมเด็จพระอนาวรณญาณยอดบุคคลเป็นที่ล้นพ้นแล้ว ไฉนเล่าพระเจ้าข้า
พระพุทธฎีกาจึงตรัสเป็นสอง ฟังไม่ต้องกัน แม้ว่าจะสำคัญถือเอาเป็นมั่นคงว่า คำที่พระองค์
ตรัสว่า ยังสามเดือนจะเข้าสู่พระนิพพาน คำเดิมที่โปรดประทานไว้ว่าตถาคตจะจำเริญอิทธิบาท
ทั้ง 4 ประการ จะให้มีพระชนม์ยืนนานไปกัปหนึ่งหรือยิ่งกว่ากัป คำนี้ผิดเป็นมิจฉา แม้จะ
ถือเอาคำก่อน ที่ว่าพระองค์เจริญอิทธิบาททั้ง 4 ประการ ให้พระชนมายุยืนนานประมาณ
กัปหนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปหนึ่งว่าชอบแล้ว คำที่ตรัสว่าไม่นานดอกอีกสามเดือนจะเข้าสู่พระนิพพาน
ก็จะผิด อยํปิ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ คมฺภีโร ลึกล้ำสุดประมาณ นิปุโณ ละเอียดลออยิ่งนัก

ทุนิชฺฌาสโย ยากที่จะสอดส่องปัญญาพิจารณาเห็น อุภโต โกฏิโต เป็นสองเงื่อนมิใช่ง่าย
มาถึงผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงทำลายเสีย ทิฏฺฐิชาลํ ซึ่งข่ายคือทั้งหลายในกาลบัดนี้
ฝ่ายพระนาคเสนองค์พระอรหาธิบดี มีพระสุนทรวาทีกล่าวแก้ซึ่งอุภโตโกฏิปัญหาว่า
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกเลิศ
บุคคลตรัสว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ พระอิทธิบาทนี้มีคุณนักหนา ภาวิตา แม้
ตถาคตจำเริญไปมิได้ขาด พหุลีกตา จะภาวนาให้มากมั่นอยู่ในสันดาน ยานีกตา กระทำ
เหมือนหนึ่งรถยานพาหนะ ที่จะขับขี่ใช้สอยอยู่เป็นอันดียามเมื่อจะมีที่สัญจร วตฺถุกตา กระทำ
เหมือนที่นั่งนอน บ่ห่อนที่จะละวางให้ว่างเสียเปล่า เมื่อยามมีที่ไปเล่าก็เอาอิทธิบาทเป็น
ยานพาหนะขับขี่สัญจร เมื่อยามจะนั่งเล่าก็เอาอิทธิบาททั้ง 4 เป็นพระเก้าอี้ แท่นที่ไสยาสน์
อนุฏฺฐิตา มิให้คลาดได้ สุสมารทฺธา ตั้งพระทัยปรารภรำพึงนิยมอยู่เป็นนิต ปริจิตฺตา สั่งสม
อยู่ในจิตไม่ขาดในอิทธิบาททั้ง 4 ได้ดังนี้ แม้ตถาคตก็อาจที่จะให้พระชนม์ยืนไปกัปหนึ่ง
หรือยิ่งกว่ากัปหนึ่งก็ได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกเลิศบุคคลตรัสฉะนี้มั่นคง เพื่อจะสำแดงกำลัง
ของพระพุทธองค์ว่า ถ้าจะทรงจำเริญพระอิทธิบาทแล้ว อาจให้มีพระชนม์ยืนนานประมาณกัป
หนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปหนึ่งไป จะเปรียบฉันใดนะบพิตรพระราชสมภาร อสฺสาชานิโย ปานดุจม้า
อาชาไนยแห่งบรมกษัตริย์อันเป็นม้าพระที่นั่งตัวประเสริญ สีฆํ คโต มีคติอันไปเร็วโดยเลิศ
อนิลชวสโม เหมือนหนึ่งว่าเหาะไปในอากาศ สมเด็จบรมกษัตราธิราชนั้น ชวพลํ ปริกฺกิตฺ-
ตยนฺโต
เมื่อจะสรรเสริญกำลังอันเร็วแห่งม้าอาชาไนย เอวํ วเทยฺย จึงมีพระราชโองการ
ตรัสสรรเสริญดังนี้ในท่ามกลางมหาชน และพวกพลพราหมณ์คฤหบดีและอำมาตย์อันมาเฝ้า
ว่า โภ ดูกรสูชาวเจ้าทั้งปวง อันมาประชุมพร้อมหน้า ณ พระลานหลวงนี้ อยํ หยวโร
ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐของเรานี้ แม้เรามีความปรารถนาจะให้ม้าอาชาไนยไปโดยชลมารค คือ
คงคาในที่สุดแห่งสาครแล้วจะกลับสัญจรมา แม้มารว่าปรารถนาลัดนิ้วมือหนึ่ง ก็อาจมาถึงได้
ในฐานที่นี้ และสมเด็จบรมกษัตริย์จะได้สรรเสริญชววิธี ที่พระองค์ไปเร็วหามิได้ สรรเสริญม้า
อาชาไนยดอก ตรัสบอกให้รู้ว่าม้าอาชาไนยนั้นเร็วสามารถอาจจะไปถึงที่สุดแห่งคงคาสาครแล้ว
กลับสัญจรมาถึงที่นี้เร็วพลันในขณะลัดนิ้วมือเดียวดังนี้ และสมเด็จบรมกษัตริย์มีพระราช-
โองการสรรเสริญม้าอาชาไนย ไม่สรรเสริญพระองค์ฉันใด ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ
พระโลกุตตมาจารย์เมื่อจะโปรดปรานสรรเสริญซึ่งกำลังอิทธิฤทธิวิชาอันไพศาล จึงทรงนั่ง
ในท่ามกลางแห่งพระอรหันต์อันทรงซึ่งไตรวิชชาและฉฬภิญญาอันมีอาสวะหมดสิ้น วิมลานํ
หามลทินได้ อันผ่องใสบริสุทธิ์ในท่ามกลางแห่งเทวดามนุษย์พรั่งพร้อมกัน จึงมีพระพุทธฎีกา
สรรเสริญพระอิทธิบาททั้ง 4 ว่า จำเริญพระอิทธิบาททั้ง 4 นี้มีคุณนักหนา แม้มาตราว่า


ปรารถนาจะให้ชนมายุยืนนานประมาณกัปหนึ่งก็ได้ กปฺปาวเสสํ เหลือไปกว่ากัปก็ได้ สมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถตรัสสรรเสริญคุณพระอิทธิบาท ใช่สมเด็จพระบรมโลกนาถจะสรรเสริญ
กำลังพระองค์ ปานดุจบรมกษัตริย์ตรัสสรรเสริญกำลังม้าของพระองค์ฉะนั้น อนึ่งสมเด็จพระ
สัพพัญญูตรัสฉะนี้ จะยินดีที่จะอยู่ไปในภพหามิได้ อนตฺถิโก สมเด็จพระวิชัยมารมิ่งมกุฏ
วิสุทธิมุนี มิได้ยินดีมีประโยชน์ จึงตรัสยกโทษภพทั้งสามว่าชั่วช้าสามานย์ ภาสิตํ เจตํ
มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ โปรด
ประทานด้วยวาระพระบาลีว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อปฺปมตฺตโกปิ คูโถ ทุคฺคนฺโธ โหติ เอวเมว
โข อหํ ภิกฺขเว อปฺปมตฺตกํปิ ภวํ น วณฺเณมิ อนฺตมโส อจฺฉรสงฺฆาตสฺส
ดังนี้ แปลความ
ตามกระแสพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย คูโถ อันว่าคูถแม้มีประมาณ
น้อย ทุคฺคนฺโธ มีกลิ่นอันเหม็นเป็นที่พึ่งเกลียดพึงชังนักหนา ไม่มีใครที่ว่าจะชมคูถนั้น
แม้สักน้อยหนึ่ง มีแต่ครหา เสยฺยถาปิ แม้มีอุปมาฉันใด น วณฺเณมิ ตถาคตไม่สรรเสริญซึ่ง
ภพสงสารแต่ประมาณน้อยหนึ่ง อนฺตมโส กำหนดที่สุดลงไป โดยจะอยู่ไปในภพสงสารแต่
ประมาณลัดนิ้วมือหนึ่งก็ดี ตถาคตมิได้สรรเสริญเป็นสัจจัง เอวํ โข มีอุปไมยเหมือนดังนั้น
สิ้นกระแสพระพุทธฎีกาเท่านี้ ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระอนาวรณญาณทัศนา
การเห็นภพสงสารปานดุจของเน่าของเหม็นฉะนี้ จะอาศัยพระฤทธิ์แล้ว มีจิตกลับกำหนัดยินดี
ในภพหรือประการใด
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า หามิได้ ภพนี้ถึงพระองค์มีฤทธิ์รักษาให้สถิต
อยู่ไปได้ ก็ไม่มีอาลัยอาวรณ์
พระนาคเสนถวายพระพรว่า เหตุดังนั้น สมเด็จพระบรมสรรเพชญภควันตบพิตร ทรง
สรรเสริญฤทธิ์พระอิทธิบาทเท่านั้น จึงเปล่งพุทธสิงหนาทสรรเสริญพระอิทธิบาทดังนี้ ใช่ทว่า
จะรู้จักยินดีในที่จะจำเริญพระอิทธิบาท ให้สถิตนานไปในภพสงสารหามิได้ บพิตรจงทรง
สันนิษฐานเข้าพระทัยเถิด
สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า สาธุ สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับ
คำพระผู้เป็นเจ้าที่วิสัชนาปัญหานี้ได้ดุจวิสัชนามานั้น เพื่อป้องกันเสียซึ่งคำเดียรถีย์ทั้งหลาย
ฝ่ายมิจฉาทิฐิในกาลบัดนี้
อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา คำรบ 10 จบเพียงนี้
จบปฐมวรรค

ทุติยวรรค


ขุททานุขุททกปัญหา ที่ 1


ลำดับนั้น บรมกษัตริย์ขัตติยนริยทร์ปิ่นพิภพมิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงทรงสุนทรพาทีไต่ถาม
อรรถปัญหาอื่นสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมนี้คือไป ๆ แล้วก็
กังขา ภาสิตํ เจตํ ภควตา ด้วยพระพุทธฎีกาสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ โปรด
ประทานไว้ว่า ภิกฺเว ดูรกภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตได้รู้จริงเห็นจริงซึ่งพระสัทธรรมแล้ว ธมฺมํ
เทเสมิ พระตถาคตจึงได้สำแดงพระสัทธรรมนั้นไว้ โน อนภิญฺญาย ใช่ว่าพระตถาคต จะได้
สำแดงพระสัทธรรมนั้นไว้โดยความที่พระคตาถตไม่ได้รู้จริงเห็นจริงหามิได้ เมื่อสมเด็จบรม
ไตรโลกาธิบดีตรัสไว้ฉะนี้แล้ว ปุน จ ภณิตํ ดังฤๅตรัสไว้ในพระวินัยอีกเล่าว่า อานนฺท ดูกร
สำแดงอานนท์ สงฺโฆ อันว่าสงฆ์ อากงฺขมาโน เมื่อมีความรารถนาต้องการ ตถคต
นิพพานแล้ว สมูหนตุ จงเพิกถอนเสียซึ่งขุททานุขุททกสิกขาบท พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ ขุททา-
นุขุททกสิกขาบทนี้ พระองค์ทรงบัญญัติไม่ดีไม่งาม หรือทรงบัญญัติเพราะไม่มีเหตุไม่มีวัตถุ
เป็นประการใด พระองค์เจ้าจึงรับสั่งให้พระสงฆ์พุทธสาวกเพิถอนเสียได้ในเวลาที่พระองค์นิพพาน
แล้ว ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าว่าพระตถาคตเจ้าตรัสรู้ซึ่งพระสัทธรรมโดยยิ่งแล้วจึงทรง
แสดงธรรม ข้อซึ่งพระองค์ทรงอนุญาตให้เพิกถอนสิกขาบทต้องผิดเป็นมิจฉา ถ้าพระองค์ทรง
อนุญาตให้เพิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบทได้จริง ที่ว่าพระองค์เจ้าตรัสรู้แล้วจึงเทศนาก็จะ
เป็นผิด คำทั้งสองนี้ไม่ต้องกันฉะนี้ อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นสองเงื่อนแย้งกัน
สณฺโห ละเอียด สุขุโม สุขุม นิปุโณ ลึกล้ำยากที่จะรู้ ยิ่งฟันยิ่งกังขา เหตุบกพร่องไม่
บริบูรณ์ มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงอนุกูลแก้ปัญหาสำแดงซึ่งกำลังปัญญาให้วิตถาร
คือแก้ปัญหานี้ให้แจ่มกระจ่าง ณ กาลบัดนี้
เถโร ฝ่ายว่าพระมหาเถระผู้ประเสริฐอันได้นามว่านาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกา
โปรดประทานว่า ภิกฺขเว ดูรกสงฆ์ทั้งหลาย พระตถาคตได้รู้จริงเห็นจริงซึ่งพระสัทธรรมแล้ว
จึงได้สำแดงพระสัทธรรมนั้นไว้ ใช่ว่าจะได้สำแดงพระสัทธรรมไว้โดยความที่ไม่ได้รู้จริงเห็นจริง
หามิได้ สมเด็จบรมจอมไตรมิ่งมกุฏวิสุทธิปรีชา มีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้ว ปุน จ ปรํ มา
อีกครั้งหนึ่ง มีพระพุทธฎีกาตรัสบัญญัติไว้ในพระวินัยกับพระอานนท์ว่า อานฺนท ดูกรสำแดง
อานนท์ เมื่อพระสงฆ์มีความปรารถนาต้องการ เมื่อตถาคตเข้านิพพานไปแล้วก็จงเพิกถอน
ุขุททานุขุททกสิกขาบทเสียบ้าง ที่พระองค์เจ้ามีพระพุทธฎีกาดังนี้ ก็เพราะมีพระพุทธประสงค์